ลำดับ
|
เรื่อง
|
แนวทางปฏิบัติ
|
1
|
การนับระยะเวลา
|
- ให้นับระยะเวลาติดต่อกันไปจนถึงวันสิ้นสุด แม้เป็นวันหยุดก็นับรวม เว้นแต่วันสุดท้ายเป็นวันหยุดทำงานให้นับวันเริ่มทำงานเป็นระยะเวลาสิ้นสุด
|
2
|
การลงโทษต่ำกว่าระดับ
|
- ลงโทษต่ำกว่าระดับที่ ตร.กำหนดได้ แต่ต้องมีเหตุอันควรลดหย่อนประกอบ
- หนังสือ ตร.ซักซ้อมกรณี ตร.วางระดับโทษไว้สูงแต่เกินอำนาจ ผบ.จะสั่งลงโทษได้ ให้พิจารณาปรับระดับโทษให้อยู่ในอัตราที่สามารถลงโทษได้ |
3 |
เมื่อข้าราชการตำรวจต้องหาคดีอาญา |
- การรายงานเมื่อต้องคดี / หลักเกณฑ์แนวทางการพิจารณา
- ข้อสังเกตุ ก.ตร.ในการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ให้ระบุพฤติการณ์และการกระทำในรายละเอียดอันเป็นมูลให้ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเป็นหลัก ส่วนกรณีต้องหาคดีอาญานั้นให้ระบุเพิ่มเติมเพื่อเป็นการประกอบข้อกล่าวหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น
- คณะ กก.สอบสวนสรุปสำนวนโดยมีความเห็นให้รอฟังผลคดีอาญา เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฏ ก.ตร.
- ผบ.พิจารณาสั่งการทางวินัยโดยไม่รอฝังผลคดีอาญา หากผลสั่งการแตกต่างจากคำพิพากษา ถ้าทำไปโดยถูกต้องตาม กม.และสุจริต หาต้องรับผิดไม่
- ในการตั้งคณะ กก.สอบสวนกรณีต้องหาคดีอาญาทุกเรื่องหากคดีถึงที่สุดโดยอัยการสั่งไม่ฟ้องให้ขอทราบสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นอัยการแนบสำนวนทุกกรณี
- หนังสือ ตร. ก.ค.55 แนวทางปฏิบัติกรณีข้าราชการตำรวจต้องหาคดีอาญาแล้วหลบหนี หากจะสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้พิจารณาสั่งเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่หลบหนีคดีอาญาหรือละทิ้งหน้าที่ไป และสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันควบคู่ไปด้วย |
4 |
การเป็นหนี้สินส่วนตัว |
- โดยหลักไม่ให้ ผบ.เข้ายุ่ง เว้นแต่ก่อหนี้สินมากมายอื้อฉาวเสื่อมเสียถึงตำแหน่งหน้าที่หรือพฤติการณ์คดโกงใช้เล่ห์เลี่ยมเพทุบายอันมิชอบหรือมีการไกล่เกลี่ยแล้วยังเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล |
5
|
การล้างมลทิน
|
- มติ ก.ตร. ไม่ว่าคำสั่งลงโทษจะผิดขั้นตอน, ไม่ชอบด้วย กม., ไม่มีอำนาจหรือเกินอำนาจ ย่อมถือว่าเป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัย เข้าหลักเกณฑ์ล้างมลทิน
- คณะ กก.กฤษฎีกาตอบข้อหารือ : อยู่ระหว่างรับโทษซึ่งยังไม่ครบกำหนด ไม่ต้องรับโทษอีก / รับโทษวินัยไม่ร้ายแรงครบแล้ว ผบ.ชั้นเหนือเพิ่มโทษไม่ได้ ถือว่าได้รับโทษไปแล้วบางส่วน
- พ.ร.บ.ล้างมลทิน พ.ศ.2550
- ได้รับการล้างมลทินแล้ว แต่ต่อมาถูกศาลพิพากษาจำคุกแม้จะเป็นเรื่องเดียวกันก็สามารถลงโทษทางวินัยได้ฐานกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก ไม่เป็นการลงโทษทางวินัยซ้ำ
- สรุปหลักการตาม พรบ.ล้างมลทิน
- พรบ.ล้างมลทิน เป็นเพียงการให้ลบล้างโทษทางวินัยที่เคยได้รับเท่านั้น ไม่มีผลเป็นการลบล้างการกระทำผิดวินัยตามความเป็นจริงที่ได้กระทำขึ้นให้หมดสิ้นไปแต่อย่างใด |
6
|
คณะกก.กลั่นกรองการพิจารณาสั่งลงโทษ
|
- กรณีสอบสวนวินัยร้ายแรง ผบ.เห็นว่าไม่ผิดหรือผิดแต่ไม่ร้ายแรง มิใช่กรณีต้องนำเข้าที่ประชุมคณะ กก.กลั่นกรอง / กรณีคณะ กก.ฯ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จใน 30 วัน วันเริ่มนับให้ถือวันที่ ป.กก. ได้รับสำนวน / กรณีมีผู้ถูกกล่าวหา 2 รายหรือมากกว่า บางรายจะลงโทษไล่หรือปลด บางรายไม่ถึงไล่หรือปลด ให้นำเข้าคณะ กก.ฯ เฉพาะรายที่จะไล่หรือปลด
|
7
|
การกลับสู่ฐานะเดิม
|
- กรณีผู้ถูกกล่าวหาถูกสำรองราชการ การกลับสู่ฐานะเดิมตาม ม.87 ฐานะเดิมมิใช่สำรองราชการ แต่เป็น ผกก. หรือ รอง ผกก. หรือ สว.ฯลฯ
- มติ ก.ตร.กรณีถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก หรือให้ออกไว้ก่อน และต่อมากลับเข้ารับราชการหรือกลับสู่ฐานะเดิม ให้ใช้วิธีการสั่งให้ประจำตามกฏ ก.ตร.ว่าด้วยการสั่งประจำฯ ข้อ2(8) ได้
- มติ ก.ตร.กรณี ผบ.ได้รับสำนวนการสอบสวนและไม่สามารถพิจารณาสั่งการให้เสร็จสิ้นได้ภายในระยะเวลาตาม ม.87 วรรคสอง แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะถูกควบคุมอยู่ในเรือนจำ ผบ.ก็ต้องมีคำสั่งให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่สามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้ ผบ.ก็ต้องสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนด้วยเหตุจากคดีอาญาอีกกรณีเป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกควบคุมฯ |
8
|
ผลการไต่สวนและชี้มูลความผิดของป.ป.ช.
|
- กรณี ป.ป.ช.มีความเห็นว่าไม่ผิดและมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป มิได้ผูกพัน ผบ.ให้ต้องพิจารณาสั่งการตามความเห็นและมติ ป.ป.ช.แต่อย่างใด / ป.ป.ช.แจ้งผลมีมติเป็นร้ายแรง ก่อน ผบ.สั่งไล่หรือปลดออกต้องให้คณะ กก.กลั่นกรองฯ ประชุมมีมติก่อน
|
9 |
การละทิ้งหน้าที่ราชการ |
- ระดับโทษ, ความหมาย, และการนับวันละทิ้งหน้าที่ราชการ
- มติ ก.ตร.ละทิ้งหน้าที่หลายครั้งในเวลาใกล้เคียงกันโดยไม่มีเหตุสมควรแม้แต่ละครั้งไม่เกิน 15 วัน ผบ.ควรพิจารณาในความผิดร้ายแรงฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
-ขาดราชการหลายครั้ง ลงโทษแล้วไม่หลาบจำ ให้ ผบ.พิจารณาสั่งให้ออกจากราชการฐานประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ฯ และตัวอย่างคำสั่งในกรณีนี้
-การนับวันละทิ้งหน้าที่ฯ ของตำรวจประจำ สน.สภ.ซึ่งไม่ต้องลงชื่อทำงาน
-การละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่อาจเกิดจากการไม่มาทำงานเลยหรือเป็นกรณีลงชื่อมาทำงานแต่ไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานที่ที่ได้รับมอบหมาย |
10 |
เงินสนับสนุนคณะ กก.สอบสวน |
-พ.ร.ฎ.เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2547
-พ.ร.ฎ.เบี้ยประชุมกรรมการ (ฉบับที่2) พ.ศ.2550
-ประกาศ ก.คลัง ก.พ.53 เรื่องกำหนดรายชื่อคณะ กก.ฯ ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมฯ และอัตราเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนและรายครั้งฯ สำหรับ กก.ฯ
-หนังสือกรมบัญชีกลาง เม.ย.53 ตอบข้อหารือสนง.คณะกก.ฯ การศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกก.สอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯ ถือเป็นคณะกก.ที่ได้รับการแต่งตั้งตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมกรรมการ
-หนังสือกรมบัญชีกลาง ก.ย.51 คณะกก.สอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเป็นคณะกก.ที่แต่งตั้งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมกรรมการ
|
11 |
แบบตรวจสำนวนการสอบสวน |
-เพื่อประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอนการสอบสวน |
12 |
ข้าราชการตำรวจถูกฟ้องล้มละลาย |
-หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย / การรายงานตนต้องคดีล้มละลายภายใน 3 วัน นับแต่ได้รับหมายศาล / การเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฏ ก.ตร.
|
13 |
การพิจารณาเบื้องต้นในการดำเนินการทางวินัย |
-ข้อสังเกตุบางประการเกี่ยวกับการพิจารณาในเบื้องต้น |
14 |
การดำเนินการกรณีผู้ถูกลงโทษกักขัง เจ็บป่วย |
-ผู้ถูกลงโทษกักขังเจ็บป่วยจนต้องส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ รพ.จนล่วงพ้นระยะเวลากักขัง หากมิได้ออกจาก รพ.ไปภายในระยะเวลาการลงโทษถือได้ว่าได้รับโทษครบตามกำหนดเวลาลงโทษแล้ว |
15 |
ตัวอย่างสำนวน |
-สำนวนการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีละทิ้งหน้าที่ฯ
-สำนวนการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงกรณีตรวจอนุญาตและบันทึกข้อมูลโดยบุคคลต่างด้าวมิได้เดินทางเข้ามาในราชอาราจักรจริง
-สำนวนการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงกรณีเป็นชู้ |
16 |
สรุปย่อกฏ, ระเบียบ, คำสั่งฯ ที่สำคัญ |
-สารบัญ,สรุปย่อ
-สรุปย่อกฎ, ระเบียบ, คำสั่งที่สำคัญ |
17 |
แนวทางการลงโทษวินัยร้ายแรง |
- ปลดออก กรณีทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อ การจัดจ้าง การเบิกจ่ายวัสดุก่อสร้าง วัสดุไฟฟ้า เพื่อการซ่อมแซมอาคาร
- ไล่ออก กรณีเป็นพนักงานสอบสวนเรียกรับเงินทำสำนวนคดี
-ไล่ออกกรณีตรวจค้นจับกุมยาบ้าและเรียกร้องเอาเงินจากผู้ถูกจับกุมเพื่อไม่ส่งตัวดำเนินคดี
- ปลดออก กรณีถูกดำเนินคดีข้อหาร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์
- ไล่ออก กรณีมีส่วนรู้เห็นคนร้ายใช้อาวุธปืนซึ่งตนเองครอบครองไปใช้ฆ่าผู้อื่น
- ปลดออก กรณีเมาสุรายิงปืนขึ้นฟ้า
- ปลดออก กรณีนำอาวุธปืนของทางราชการไปจำนำ
- ไล่ออกกรณีเป็นตำรวจ ตม.ผู้ครอบครองรอยตราประทับที่ปรากฏในหนังสือเดินทางปลอม
- แนวทางการลงโทษวินัยอย่างร้ายแรงของ ก.ตร.(ระดับโทษ ก.ตร.) 17 ลักษณะความผิด
- ตัวอย่างแนวทางการลงโทษของ ก.ตร.ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงในความผิดเกี่ยวกับละทิ้งหน้าที่ราชการ, การสอบ, สุรา, อาวุธปืน, ชู้สาว, การพนัน, ฉ้อโกง, ยาเสพติด, ป่าไม้ และอื่นๆ |
18 |
แนวทางการลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง |
- เมาสุราจะเบ่งกินฟรี
- ก้าวร้าว หาว่าผู้บังคับบัญชาไม่มีน้ำยา
- บันดาลโทสะชกต่อยภรรยาน้อย
- ไม่ดูแลภรรยา แชร์ล้ม หนี้สินจำนวนมาก
- พกปืนหลวงไปในทางสาธารณะนอกเวลาราชการ
- จดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่เลี้ยงดูบุตร เปลี่ยนนามสกุลไม่แจ้งผู้บังคับบัญชา
- ปลูกสร้างต่อเติมแฟลต (บ้านพักข้าราชการ) โดยไม่ได้รับอนุญาต
- ไม่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
- อ้างการจราจรติดขัดไปไม่ทันการเป็นพยานศาล
- ปล่อยให้ผู้เสียหายรอแจ้งความเป็นเวลานาน ออกไปตรวจสถานที่เกิดเหตุล่าช้าและไม่รับคำร้องทุกข์ลงเลขคดีในทันที
-ไม่สามารถติดตามผู้เสียหาย พยานมาเบิกความจนศาลยกฟ้อง
- เสพสุรามึนเมาทะเลาะวิวาทกันเอง ถูกเชิญตัวไป สน. ไม่ยอมรอร้อยเวร
-รายงานตนต้องคดีอาญาล่าช้า
- เป็น พงส.รับคำร้องทุกข์ล่าช้า
- ไม่เลี้ยงดูภรรยา เกี่ยวข้องหญิงอื่นในทางชู้สาว
- มาตรฐานการลงโทษวินัยไม่ร้ายแรงของ ตร.(ระดับโทษ ตร.) 15 ลักษณะความผิดและตัวอย่างของพฤติการณ์, โทษ ตามลักษณะความผิดต่างๆ |
19 |
กฏ, ระเบียบ ฯลฯ ที่ควรทราบ |
- การเรี่ยไร
- การแต่งกาย (เครื่องแบบตำรวจ)
- การรายงานตนเมื่อถูกอ้างเป็นพยาน |
20
|
ตัวอย่างคำสั่ง
|
-เพิกถอนคำสั่งลงโทษและให้กลับเข้ารับราชการ___กรณีศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งไล่ออกและให้ดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัยให้ถูกต้องตามกม.ต่อไป
- เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษจากให้ออกฯ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเพราะมีมลทินหรือมัวหมองเป็นลงโทษไล่ออก_____กรณี ก.ตร.มีมติยกอุทธรณ์และให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นไล่ออก
- ยกโทษไล่ออก_____เนื่องจากอุทธรณ์ฟังขึ้น แต่ไม่สามารถสั่งให้กลับเข้ารับราชการได้เนื่องจากถูกลงโทษไล่ออกกรณีอื่นด้วย
- ให้ออกจากราชการไว้ก่อน_____โดยเหตุถูกตั้ง กก.สอบสวนหรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ ถ้าให้อยู่ฯ อาจเกิดเสียหายแก่ราชการ และการสอบสวนจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว
-ลงโทษไล่ออก_____กรณีถูกไล่ออกไปก่อนหน้าแล้ว_____วันออกจากราชการจะย้อนหลังไปเป็นวันที่ถูกไล่ออกก่อนหน้านั้น
-ลงโทษไล่ออก_____กรณีนอกราชการจากการลาออก_____วันออกจากราชการจะย้อนหลังไปเป็นวันที่ลาออกจากราชการ
-ลงโทษไม่ร้ายแรง_____กรณีรับสารภาพซึ่งถือเป็นความผิดปรากฏชัดแจ้งไม่ต้องสอบสวน
- เพิ่มโทษ_____กรณี บช.ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาซึ่งมาช่วยราชการ ตร.เห็นว่ายังไม่ถูกต้องเหมาะสม ตร.จึงสั่งเพิ่มโทษและสั่งยกเลิกคำสั่งลงโทษของ บช.
- ยกโทษและงดโทษทางวินัย_____กรณีอุทธรณ์ ก.ตร.ฟังขึ้น ก.ตร.มีมติให้ ตร.มีคำสั่งยกโทษไล่ออกและสั่งให้กลับเข้ารับราชการและให้ลงโทษไม่ร้ายแรงไปในอำนาจ แต่ผู้ถูกกล่าวหาได้ออกจากราชการแล้วเนื่องจากเกษียณอายุราชการ จึงให้งดโทษ
- ตั้ง คณะ กก.สอบสวนร่วมกันระหว่าง ตร. และกรมการปกครอง_____กรณีข้าราชการต่างสังกัดกรมกระทรวงฯ ทำผิดวินัยร้ายแรงร่วมกัน
|
21 |
เมื่อข้าราชการตำรวจเกี่ยวข้องกับยาเสพติด |
- แนวทางปฏิบัติในการดำเนินการทางวินัยข้าราชการตำรวจที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องหรือพัวพันกับยาเสพติด
- คดียาเสพติด โดยเฉพาะคดีเสพหรือจำหน่ายทุกเรื่อง ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ก่อนถูกจับกุมว่า ผบ.ตามคำสั่ง ตร.1212/37 ควรรู้หรือทราบพฤติการณ์มาก่อนหรือไม่และได้กวดขันดูแลมากน้อยเพียงใดเนื่องจากผู้ติดยาหรือจำหน่ายน่าจะมีพฤติการณ์มาก่อนถูกจับกุม การที่ ผบ.อ้างเพียงได้ประชุมชี้แจงอบรมในภาพรวมยังไม่พอฟังได้ว่าไม่บกพร่อง
- โทรสาร ตร.24 ต.ค.55 ข้าราชการตำรวจที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ดำเนินการทางอาญาและวินัยอย่างเด็ดขาด ให้พิจารณาสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนทุกราย และให้พิจารณาข้อบกพร่องผู้บังคับบัญชาตามคำสั่ง ตร.ที่ 1212/2537 ทุกราย |
22 |
การดำเนินการทางวินัยลูกจ้างประจำ |
- เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ.2537 และคำสั่ง ตร.ที่ 1365/2537 เรื่องมอบหมายอำนาจการดำเนินการเกี่ยวกับลูกจ้างประจำ
- ตัวอย่างการดำเนินการทางวินัยลูกจ้างประจำ (นักการภารโรง)
- ตัวอย่างการสอบสวนวินัยและลงโทษของ สภ.ชุมแพ |
23 |
ข้าราชการตำรวจเจ็บป่วย ทุพพลภาพ จิตฟั่นเฟือน จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ |
- สั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 100(1) หรือตามมาตรา 100(3) โดยมีแนวทางปฏิบัติตามหนังสือ ตร.ลง 31 ต.ค.27 และ 24 มี.ค.30
- ระเบียบตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่9 การออกจากราชการ |
24 |
ข้าราชการตำรวจสมัครไปปฏิบัติงานใดๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ |
- สั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 100(2) โดยมีแนวทางปฏิบัติตามหนังสือ ตร. 24 ส.ค.50
- ระเบียบตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่9 การออกจากราชการ |
25 |
การมอบอำนาจตามคำสั่ง ตร.ที่436/48 |
- ผบ.ผู้รับมอบอำนาจพิจารณาตาม ม.91 วรรค3 ต้องพิจารณาว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ไม่อาจเพิ่มโทษได้
- มติ ก.ตร. ผบ.ชั้นต้นที่ดำเนินการทางวินัยแต่ไม่สามารถลงโทษได้เนื่องจากโทษนั้นเกินอำนาจ จึงเสนอเรื่องให้ ผบ.ชั้นเหนือพิจารณาสั่งลงโทษ ถือได้ว่าการสั่งลงโทษของ ผบ.ชั้นเหนือนั้นเป็นการสั่งในฐานะ ผบ. ตาม ม.89 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องรายงานผลการดำเนินการทางวินัยต่อ ผบ.ชั้นเหนือขึ้นไปตาม ม.91
|
26 |
การพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ |
- ควรคำนึงถึงหลักนิติธรรม, หลักมโนธรรม, หลักความเป็นธรรม (ลักษณะของการกระทำผิด, ผลแห่งการกระทำผิด, คุณความดี, การรู้หรือไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด, การให้โอกาสแก้ไขความประพฤติ, เหตุเบื้องหลังการกระทำผิด, สภาพของผู้กระทำผิด), นโยบายของทางราชการประกอบกัน |
27 |
เทคนิคการสืบสวน |
- คำบรรยายเทคนิคการสืบสวนและการสอบสวนของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและเทคนิคการซักถาม |
|